หัวข้อหลัก
01 – ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
02 – สัญญาขายฝาก และ สินไถ่
03 – สัญญาเช่าซื้อและสัญญาเช่าทรัพย์
04 – ความแตกต่างระหว่างสัญญาเช่าทรัพย์ กับ เช่าซื้อ
05 – สัญญเช่าซื้อและสัญญาขายผ่อนส่ง
06 – แบบของการตั้งตัวแทน สัญญาตัวแทน
07 – เช็ค และ การแจ้งความเรื่องเช็ค
08 – อายุความเรื่องเช็ค
09 – หุ้นส่วนและบริษัท
10 – สิทธิอละหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน
11 – ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก
ความหมายของ หนี้ หนี้เป็นความเกียวพันธ์ระหว่างบุคคลเดียว หรือ หลายคน โดยฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ อีกฝ่าย เรียกว่า เจ้าหนี้
หนี้ ตามปพพ.มิได้มีความหมายเฉพาะการกู้ยืมเงิน แต่หมายถึง ความผูกพันที่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมาย เช่น หนี้โดยการละเมิด หนี้โดยกฎหมาย เช่น ภาษีอากร เป็นต้น
องค์ประกอบของหนี้ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.การมีนิติสัมพันธ์ (ความผูกพันกันในกฎหมาย) หากกฎหมายไม่รองรับการนั้นก็ไม่เกิด
หนี้ผูกพันด้วย
2.การมีเจ้าหนี้และลูกหนี้(เป็นบุคคลสิทธิ)
3.ต้องมีวัตถุแห่งหนี้ ได้แก่
– หนี้กระทำการ เช่น ลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้าง
– หนี้งดเว้นกระทำการ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องงดเว้นไม่ทำการค้าแข่งกับห้างหุ้นส่วน
– หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน(หรือโอนกรรมสิทธิ์) เช่น ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่า
บ่อเกิดแห่งหนี้
1.หนี้เกิดโดย นิติกรรม-สัญญา ซึ่งเมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้น ก็ย่อมเกิดความเป็นเจ้าหนี้-ลูกหนี้ขึ้น โดยปกติ เมื่อเกิดหนี้ ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากเคราะห์แห่งหนี้ได้ด้วยการชำระหนี้ ซึ่งจะชำระหนี้อย่างไรนั้น ย่อมเป็นไปตามที่ตกลงในสัญญาที่ทำลง กฎหมายจะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่จะคอยควบคุมอยู่กว้าง ๆ มิให้ออกนอกกรอบที่กฎหมายระบุ เพราะนิติกรรมเป็นบรรดากรณีที่กฎหมายไม่อาจกล่าวได้ทั้งหมด เช่นการซื้อขายรถยนต์ การเช่าหมู เป็นต้น การตกลงกันทางธุรกิจ กฎหมายจึงไม่เกี่ยวข้องด้วย แต่กำหนดกรอบมิให้กระทำทุจริตเท่านั้น
บางทีมีการกระทำ(ซึ่งมีผลทางกฎหมาย) แต่มิได้มุ่งหมายผูกพันประการใด เช่น เราทำละเมิดตีหัวคนอื่นเขา แต่มิใช่เป็นเรื่องที่จะผูกนิติสัมพันธ์ว่า เมื่อตีหัวเขาแล้วจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เขา จึงปรับเข้าลักษณะนิติกรรมไม่ได้ [3] กระนั้น ผู้ทำผิดดังกรณีนี้เป็นละเมิด ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายกระนั้นหรือ? กฎหมายเองได้คุ้มครองกรณีนี้ไว้ เรียกว่า “นิติเหตุ”
2.หนี้เกิดโดยนิติเหตุ คือ เหตุที่เกิดขึ้นโดยการกระทำซึ่งไม่มุ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมาย แต่กฎหมายจะเอาเรื่องว่า กระทำดั่งนี้ผิด และต้องชดใช้ เช่น ละเมิด ลาภมิควรได้(ได้ทรัพย์สินเกินส่วนที่ควรจะได้) หรือ เป็นนิติเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น บุตรจำเป็นต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา(กรณีนี้เป็นหนี้เนื่องจากสถานะของบุคคล)[4] เป็นต้น โดยผู้กระทำผิดตามหนี้ลักษณะนี้ ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งเหตุ
กำหนดการชำระหนี้
หากคู่กรณีมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน กฎหมายให้ถือว่า หนี้นั้นต้องถึงกำหนดชำระโดยพลัน แต่ถ้าตกลงกันไว้แล้ว ก็ให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้
การชำระดอกเบี้ย หากตกลงอัตราดอกเบี้ยกันไว้ กฎหมายให้คิดอัตราไม่เกินร้อยละ15ต่อปี
กรณีมิได้ตกลงอัตราดอกเบี้ยกันไว้ ให้คิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
*หากฝ่าฝืน คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด คือ เกินร้อยละ15ต่อปี กฎหมายให้ถือว่าดอกเบี้ยนั้น เป็นโมฆะ มิให้คิดดอกเบี้ยเลย แต่เงินต้น(ที่เป็นหนี้)นั้น ลูกหนี้ยังคงต้องชำระอยู่